สมาร์ทโฟน สามารถ ชาร์จแบตไร้สาย ด้วย WiFi Router ได้แล้ว

นักวิจัยที่มหาวิทยาลัย วอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ค้นพบเทคโนโลยีใหม่ ที่จะช่วยให้ WiFi Router สามารถ ชาร์จแบต ให้กับอุปกรณ์ไร้สายจำนวนมากในเวลาเดียวกันได้ ซึ่งก็รวมถึง Apple iPhone และ สมาร์ทโฟน แอนดรอย ด้วย แม้ว่าตัว Router นั้น จะอยู่ห่างจาก อุปกรณ์ถึง 28 ฟุต แต่ก็ยังสามารถ ชาร์จแบต ให้กับอุปกรณ์นั้นได้ พร้อมๆ กับทำหน้าที่หลักของมันก็คือ การรับ-ส่ง ข้อมูล สู่โลก อินเตอร์เน็ต ได้เหมือนเดิมอีกด้วย เทคโนโลยีดังกล่าวนี้ แตกต่างจากการ ชาร์จแบตไร้สาย ที่ใช้เทคโนโลยี NFC นะครับ เพราะ NFC เป็นการชาร์จแบต ระยะใกล้ จำเป็นต้องวางที่แท่น เพื่อทำการส่งกำลังไฟฟ้าผ่านคลื่นแม่เหล็ก แต่งานนี้แตกต่างโดยสิ้นเชิง ทำงานได้ไกลกว่า และเราไม่ต้องวาง สมาร์ทโฟน ของเราไว้ที่แท่นตรงไหนเลย แค่อยู่ในระยะสัญญาณ WiFi ก็พอ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีรายละเอียดอีกหลายอย่างที่จำเป็นต้องทำการทดสอบ ก่อนที่จะนำเทคโนโลยีนี้ ออกมาผลิตสู่การใช้งานจริงในสังคม

สมาร์ทโฟน สามารถ ชาร์จแบตไร้สาย ด้วย WiFi Router ได้แล้ว

กระบวนการทั้งหมด ต้องการเพียงแค่ตัวอุปกรณ์ Router และ เซ็นเซอร์บางตัวเท่านั้น เจ้าตัวเซ็นเซอร์ตัวนี้แหละ ที่จะทำการเปลี่ยนแปลงสัญญาณคลื่น RF ที่ถูกส่งจากตัว WiFi Router ให้กลายเป็นพลังงานในรูปของกระแสไฟฟ้า DC เพื่อ ชาร์จไฟ ให้กับแบตเตอรี่มือถือ ที่อยู่ในเครื่อง สมาร์ทโฟน สำหรับตัว เร้าเตอร์ เองก็แทบจะไม่ต้องทำการเปลี่ยนแปลงอะไร นอกจากทำการอัพเดต Firmware เท่านั้น เพื่อให้ตัว Router สามารถแผ่คลื่นสัญญาณออกไปได้ในพลังงานที่เพียงพอกับความต้องการของอุปกรณ์ โดยที่ไม่รบกวนการ รับ-ส่ง สัญญาณอินเตอร์เน็ต แต่อย่างใด

ในการทดลองของทีมวิจัยในมหาวิทยาลัย วอชิงตัน นั้น ได้ทำการใช้ Router จำนวน Asus รุ่น RT-AC68U 6 ตัว ในการทดสอบเทคโนโลยีดังกล่าว โดยทุกตัว ได้ถูกอัพเดต Firmware เพื่อให้สามารถส่งคลื่นสัญญาณที่เหมาะสม เพื่อ ชาร์จแบตไร้สาย ( Wireless charging ) ให้กับ สมาร์ทโฟน พร้อมๆ กับทำหน้าที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอีกด้วย ผลการทดลองนั้น ออกมาเป็นที่น่าพอใจมาก ไม่มี Router ตัวไหนมีปัญหากับการใช้งานอินเตอร์เน็ตเลยแม้แต่ตัวเดียว และการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ สมาร์ทโฟน นั้น ก็ทำงานได้ดี ไม่มีปัญหาเช่นกัน อันที่จริงแล้ว ดูเหมือนว่า จะทำให้ความเร็วอินเตอร์เน็ตที่เล่นบน สมาร์ทโฟน มีความเร็วเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

หลักการทำงานก็คือ ตัวเร้าเตอร์ จะปล่อยสัญญาณ ออกมา 3 Channel ซึ่งไม่ทับซ้อนกันกับ ช่องสัญญาณ WiFi เป็น 3 ช่องแยกต่างหาก เพื่อช่วยให้การ ชาร์จแบตมือถือ ไม่รบกวนคลื่นที่ใช้ในการเล่นอินเตอร์เน็ต ระหว่างตัว Router กับ smartphone นั่นเอง

ตอนนี้ทางมหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน ที่จะนำเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ มาใช้ผลิตเป็นสินค้า เพื่อวางจำหน่ายจริงๆ โดยบริษัทดังกล่าวก็คือ Energous ซึ่งโดยปกติก็ทำธุรกิจเกี่ยวกับการขายอุปกรณ์ส่งสัญญาณ RF ทางอากาศอยู่แล้ว แต่ไม่เหมือนกับที่ทางมหาวิทยาลัยทดลองออกมา เพราะทางบริษัท ยังไม่สามารถค้นพบวิธีการส่งสัญญาณพลังงานไฟฟ้า และข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน ผมเชื่อว่าไม่นาน เราคงได้เห็น เทคโนโลยีนี้ ออกสู่ตลาดอย่างแน่นอนครับ

เรื่องก่อนหน้านี้4 วิธีแฮก Facebook ที่คุณต้องรู้ เพื่อป้องกันตัวเอง
เรื่องถัดไปวิธีการ อัพโหลดรูปภาพ และวีดีโอจาก PC ไปที่ Google Photo