Power Banks มีความจุจริงๆ แค่ไหน ชาร์จจริงๆ ได้กี่รอบมาดูกัน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Power Banks นั้น เป็นสิ่งจำเป็นมาก ในปัจจุบัน เป็นการคิดค้นที่ยอดเยี่ยม เพราะมันทั้งสะดวก ในการพกพา ไปไหนมาไหน และราคาถูก แถมมีอีกหลายแบบ หลายรูปร่าง ซึ่งแต่ละขนาด ก็เหมาะสม และสไตล์การใช้งาน ที่แตกต่างกันไป บ้างก็มีขนาดเล็ก พกพาสะดวกมากๆ ซึ่งมักจะมีความจุ ราวๆ 2,000 – 3,000 mAh หรือบางอัน มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจะมีความจุมากขึ้น ตั้งแต่ 10,000 mAh เป็นต้นไป ซึ่งฟังดูแล้ว ยิ่งมีความจุเยอะ ก็ยิ่งดี เป็นใครก็ตาม ถ้าจะลงทุนแล้วล่ะก็ คงจะลงทุน เอาที่ความจุเยอะๆ เลยทีเดียว เพราะเข้าใจว่า ยิ่งมีความจุเยอะ ก็ยิ่งชาร์จได้บ่อยครั้ง ซึ่งมักจะคำนวนตามหลักคณิตศาสตร์ เลยว่า ถ้า Power Bank มีความจุ 10,000 mAh จะสามารถชาร์จ สมาร์ทโฟน ที่มีขนาดความจุของ แบตเตอรี่ 2,000 mAh ได้มากถึง 5 ครั้ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มันไม่ใช่แบบนั้น สาเหตุที่ว่า ทำไมความจุของ Power Bank มันถึงไม่เต็ม ตามหลักคณิตศาสตร์นั้น เกิดจากอะไร มาดูกันครับ

เซลแบตเตอรี่ power bank

เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น ผมจะขออธิบายเป็นขั้นตอนไป ว่าอันที่จริงแล้ว การทำงาน ภายใน แบตเตอรี่สำรอง ของเรา หรือ Power Banks นั้น จะมีการทำงานอยู่ 2 ส่วนใหญ่ๆ ด้วยกัน นั่นคือ เซลล์แบตเตอรี่ ที่เก็บไฟ และแผงวงจร ที่ควบคุม กระบวนการชาร์จ และจ่ายไฟ นั่นเอง ซึ่งใน ความจุ 10,000 mAh นั้น ไม่ได้แปลว่า จะมีเซลแบตเตอรี่ เพียงเซลเดียวอยู่แล้ว อาจจะมีอยู่หลายๆ เซลก็ได้ แต่ส่วนที่จะทำให้งง หรือเป็นเรื่องทางเทคนิคขึ้นมานิดหน่อยก็คือ ในเซลแบตเตอรี่นั้น จะมีการใช้ การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เป็นการบรรจุ หรือจ่ายกระแสไฟฟ้า ตามหลักวิชาฟิสิกส์ ที่เคยเรียนกันมาสมัย ม.ต้น ม.ปลาย โดยแรงดันไฟฟ้า เฉลี่ยใน แบตเตอรี่ สมาร์ทโฟน จะอยู่ราวๆ 3.7 โวล์ท (V.) ที่พูดว่าเฉลี่ย ก็เนื่องมาจาก เวลาที่เราใช้งานแอพ หรือเล่นเกมต่างๆ ใน สมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต ของเรา แรงดันไฟฟ้า จะลดลง แต่เมื่อเราทำการ ชาร์จแบตมือถือ แรงดันไฟฟ้า จะเพิ่มขึ้น ว่ากันตามหลักการแล้ว สมาร์ทโฟน รุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่ จะมีแรงดันไฟฟ้า ภายในแบตเตอรี่ สูงสุดราว 4.3 V และ ต่ำสุดราว 3 V ดังนั้นแรงดันไฟฟ้าเฉลี่ย 3.7 V จึงเป็นค่ากลางที่เหมาะสม แต่อันนี้ก็ไม่เกี่ยวกับ แรงดันไฟฟ้า ของการชาร์จไฟ ผ่านทาง แบตเตอรี่สำรอง แต่อย่างใด

ใน Power Bank นั้น เมื่อทำการจ่ายไฟ ให้กับ สมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต แรงดันไฟ จะถูกแผงวงจร เร่งให้สูงถึง 5 V ไม่ใช่ 3.7 V นะครับ ซึ่งการที่เร่งเป็น 5V นั้น ก็เท่ากับ กระแสไฟมาตรฐาน จากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น จาก USB port หรือ หม้อแปลงชาร์จมือถือ ทั่วๆ ไป ซึ่งแรงดันไฟ ที่ทาง แบตเตอรี่สำรอง จ่ายมา 5 V จะถูกกระบวนการแปลงไฟ ของแผงวงจรภายใน สมาร์ทโฟน ให้เหลือเพียง 4.3 V เท่านั้น ซึ่งลดแรงดันไฟลงมา เพื่อป้องกัน แบตเตอรี่มือถือ ระเบิดนั่นเอง ดังนั้นเค้าจึงได้เตือนว่า อย่าใช้หม้อแปลงมือถือเถื่อน ที่จ่ายแรงดันไฟ สูงกว่า 5V เข้าสู่มือถือ สมาร์ทโฟน เพราะจะทำให้ แบตเตอรี่ ระเบิดได้ ในทางกลับกัน ถ้าหม้อแปลงไฟ หรือแหล่งจ่ายไฟใดๆ ที่มีแรงดันไฟ น้อยกว่า 5V แล้วเอามาเสียเข้ากับ สมาร์ทโฟน ของเรา มันจะไม่มีการชาร์จไฟ เข้ามือถือ ของเราแต่อย่างใด เพราะต้องมีแรงดัน มาตรฐาน 5V เท่านั้น กระบวนการชาร์จไฟ เข้ามือถือ สมาร์ทโฟน ถึงจะเกิดขึ้นได้

จากที่กล่าวมานี่แหละครับ ที่ทำให้เกิดการสูญเสีย ของความจุไฟฟ้า ที่มีอยู่ภายใน Power Bank โดยจะสูญเสียให้กับ แผงวงจรไฟฟ้า ที่มีอยู่ภายในตัว แบตเตอรี่สำรอง เอง ที่ต้องเอาไปเร่งแรงดันไฟฟ้า ให้สูงขึ้นถึง 5 V ซึ่งนับเป็นความจุ 10% ของความจุรวม ในแบตเตอรี่สำรองทั้งหมด นอกจากนี้ แผงวงจรใน สมาร์ทโฟน ก็ยังต้องสูญเสียกำลังไฟ ในการแปลงแรงดันไฟฟ้า จาก 5V มาเป็น 4.3V อีกด้วย เรียกได้ว่า สูญเสียให้กับ ค่าธรรมเนียม ในการแปลงแรงดันไฟฟ้า ไปๆ มาๆ กันนี่แหละ ทำให้ความจุ ที่เราเห็นว่า 10,000 mAh นั้น จะใช้ได้จริงๆ ประมาณ 7,000 – 7,500 mAh เท่านั้น

Power Bank สมาร์ทโฟน

อัตราการจ่ายไฟฟ้า ก็มีผลกับความจุ และอายุของเซลแบตเตอรี่ เช่นกัน เพราะในปัจจุบัน สมาร์ทโฟน และ แท็บเล็ต จะใช้กระแสไฟฟ้า ในการชาร์จต่างกัน สมาร์ทโฟน มักจะใช้กระแสไฟฟ้า 1 แอมป์ ในขณะที่ แท็บเล็ต จะใช้ 2 แอมป์ ดังจะเห็นได้ว่า ใน Power Bank ส่วนใหญ่ จะมีพอร์ต มาให้ 2 ports นั่นคือ พอร์ด 1 แอมป์ และ 2 แอมป์ ถ้าใช้พอร์ต 2 แอมป์ มาชาร์จสมาร์ทโฟน จะทำให้แบตเต็มได้ไว แต่ก็ต้องแลกมา กับความจุในแบตเตอรี่สำรอง ที่จะหายไปอย่างทวีคูณเช่นกัน แต่ถ้าชาร์จตามมาตรฐาน ชาร์จสมาร์ทโฟน ด้วยพอร์ต 1 แอมป์ ก็ต้องใช้เวลานานหน่อย กว่าแบตในมือถือจะเต็ม แต่ความจุ ที่สูญเสียไปจาก Power Bank ก็จะน้อยลง

อีกปัจจัยหนึ่ง ที่มีผลให้เกิดการสูญเสีย ความจุไฟฟ้า ก็คือ อุณหภูมิ ผมบอกได้เลยว่า อุปกรณ์ไฟฟ้า ทุกชนิด ที่มีการใช้แบตเตอรี่นั้น เกลียดความร้อนที่สุด หรือจะพูดได้ว่า แบตเตอรี่ แพ้ความร้อน นั่นเอง ยิ่งร้อนมาก ก็ยิ่งทำให้สูญเสียความจุไฟฟ้า ไปได้มาก และที่สำคัญ ทำให้เซลแบตเตอรี่เสื่อมด้วย ยกตัวอย่างเช่น ไม่ควรเก็บ Power Bank ไว้ในเก๊ะหน้ารถ แล้วจอดตากแดดกลางแจ้งเอาไว้ เพราะรับรองว่า แบตเตอรี่สำรอง อันนั้น จะใช้ได้ไม่นาน แล้วเสื่อม เก็บไฟได้น้อยลงๆ อย่างแน่นอน

แบตเตอรี่สำรอง power bank สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต

การมี แบตเตอรี่สำรอง เอาไว้ แล้วไม่ใช้ อันนี้ก็สำคัญ คือซื้อมาแล้ว ไม่ค่อยได้ใช้ ชาร์จจนเต็ม แล้วก็วางเอาไว้ ในอุณหภูมิห้องปกติ แต่เชื่อมั้ยว่า ความจุไฟฟ้า มันจะค่อยๆ ลดลงเอง นั่นเกิดจากการสูญเสียไฟฟ้า ตามธรรมชาติ ดังนั้นจึงควรชาร์จ แบตเตอรี่สำรอง เอาไว้ ไม่ว่าจะใช้หรือไม่ใช้ ควรจะชาร์จ อย่างน้อย อาทิตย์ละ 1 ครั้ง ในกรณีที่ไม่ค่อยได้ใช้ เพื่อลดการเสื่อมของเซลแบตเตอรี่

สำหรับความจุที่แท้จริงของ Power Bank นั้น จะมีอยู่น้อยกว่าที่ระบุไว้พอสมควร เนื่องจาก การที่ต้องทำการเพิ่มแรงดันไฟฟ้า จาก 3.7 V เพิ่มขึ้นเป็น 5 V และนั่นจะส่งผลให้สูญเสีย ความจุของกระแสไฟฟ้า ไปถึง 10% นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายปัจจัย ที่เป็นเหตุให้ Power Bank สูญเสียความจุไฟฟ้า ไปได้อีก ไม่ว่าจะเป็น ความร้อน ของสภาพแวดล้อมรอบข้าง จำนวนครั้งในการชาร์จ ประสิทธิภาพ ของวงจรที่ควบคุมการชาร์จ ของ สมาร์ทโฟน ที่นำมาชาร์จ ดังนั้นในการเลือกซื้อ แบตเตอรี่สำรอง หรือ Power Bank นั้น ควรจะเลือกที่มีความจุ อย่างน้อยๆ ก็ต้องมากกว่า ความจุของ แบตเตอรี่ ใน สมาร์ทโฟน ของคุณ อย่างน้อย 25 – 30% ขึ้นไป แต่ไม่จำเป็นต้องเอาแบบที่เยอะมากๆ จนมีขนาดใหญ่ๆ เพราะอย่างที่กล่าวไปแล้ว ยิ่งเยอะมาก ใหญ่มาก แผงวงจร ก็ต้องดึงกำลังไฟออกไปใช้มากเช่นกัน ยิ่งใหญ่มาก ยิ่งสูญเสียมาก เอาแค่ใหญ่กำลังพอดีๆ แต่ก็นั่นแหละครับ สุดท้ายก็อยู่ที่งบประมาณ ของทุกท่านอยู่ดี

เรื่องก่อนหน้านี้เล่นเกม Cookie Run อย่างไรให้สนุกสุดๆ By CookieLovers
เรื่องถัดไปสารบัญตัวละครที่อัพเกรดได้ 6 – 7 ดาว เกม LINE เรนเจอร์