แนวทางการเล่น Gildur ROV ถึงลุงจะแก่ ตัวก็ฟรี แต่ไม่ได้กระจอกนะ ลงแร็งค์ก็ได้เหมือนกัน

ช่วงนี้ มีคนนิยมเล่นแท็งค์ ในเกม ROV กันมากขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะ แต่แท็งค์ตัวนึง ที่เดี๋ยวนี้ ไม่ค่อยจะเห็นกันแล้ว ก็คือ ลุงทอง Gildur นั่นเองครับ ทั้งๆ ที่เมื่อก่อน จัดว่า เป็นแท็งค์ฟรี ที่โหดมากๆ โดยเฉพาะช่วงซีซั่น 3 ที่มีการปรับแพทช์ให้ลุงแก โคตรโหด เล่นเอาใครต่อใคร ถึงกับกลัวลุงทองกันไปเลยทีเดียว แต่ในปัจจุบัน ไม่ค่อยเห็นใครเอามาเล่นแล้ว อาจจะเพราะคิดว่า ลุงแก แก่เกินไปแล้วมั้ง แต่ไม่เป็นไรครับ ในบทความนี้ ผมจะมาแนะนำ แนวทางการเล่น Gildur ROV ในซีซั่นปัจจุบัน ว่าลุงแก ยังโหดอยู่เหมือนกันนะ เพียงแต่อาจจะไม่ค่อยได้ฆ่า แต่รับรองว่า ช่วยฆ่า หรือขัดจังหวะศัตรูได้เยอะแน่นอนครับ

แนวทางการเล่น Gildur ROV เล่นยังไงถึงจะโหด?

เรื่องแรก ที่เราต้องรู้เกี่ยวกับ ลุง Gildur เลยก็คือ ลุงแก ถึกทนโดยไม่จำเป็นต้องใส่ไอเท็มเกราะ เลยสักชิ้นครับ ดังนั้น เวลาซื้อไอเท็ม จึงไม่จำเป็นต้องซื้อไอเท็มเกราะเลยครับ แต่ให้ใส่เป็นไอเท็มเวทแทน จะได้ทำดาเมจได้แรงๆ

เรื่องต่อมา ที่ต้องรู้ไว้ก็คือ หลังจากกดใช้สกิล ทุกสกิล ของ Gildur ย้ำว่า ทุกสกิลนะครับ จะมีโล่พิเศษ เกิดขึ้นมา เพื่อรับความเสียหายได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งตรงนี้แหละครับ คือจุดเด่น ที่ทำให้ Gildur มันโหดกว่า ฮีโร่ตัวอื่นๆ เพราะมันสามารถกดใช้สกิลได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งนั่นแปลว่า มันจะมีโล่พิเศษ เกิดขึ้นมา เพื่อรับความเสียหายให้ต่อเนื่อง เจ๋งมั้ยล่ะครับ

คอมโบสกิล ที่ควรใช้ก็คือ ยิงด้วยทอง (สกิล 2) จากนั้น พุ่งเข้าไปหาศัตรู ด้วยสกิล 1 แล้วกดใช้ สกิล 3 ทันที เพื่อตรึงศัตรูให้อยู่กับที่ ซึ่งในระหว่างนี้ คูลดาวน์ของสกิล 2 จะเสร็จก่อน เราก็กดใช้สกิล 2 ต่อได้ทันที ที่สกิล 3 หยุดลง แล้วกดสกิล 1 ต่อได้อีก ด้วยการกดคอมโบสกิลทั้งหมดที่แนะนำมานี้ อาจจะดูเหมือนไม่มีอะไร แต่จริงๆ แล้ว การกดใช้สกิลพวกนี้ต่อเนื่องกัน จะทำให้ Gildur มีเกราะพิเศษเกิดขึ้นตลอดเวลา ทำให้ได้รับความเสียหายน้อยลง หรือจะเรียกว่าโกงก็ได้

แต่.. การใช้คอมโบแบบนี้ แนะนำว่า ให้ใช้กับ คู่ต่อสู้แบบ 1 – 1 กับเรา เท่านั้นนะครับ หรือฝ่ายเรามีมากกว่า แต่ถ้าเล่นแบบทีมไฟต์ ต้องใช้อีก สเต็ปนึงครับ

เวลาทีมไฟต์ Gildur ต้องใช้การยิงด้วยสกิล 2 เป็นหลักเพียงอย่างเดียวครับ เพื่อหรอยเลือด หรือ ทำให้ศัตรูเสียเลือดไปมากที่สุด รวมทั้งเวลาที่เพื่อนปะทะกัน ต้องคอยดูจังหวะให้ดีๆ ก่อนพุ่งเข้าไป จับศัตรูหยุดด้วยสกิล 3

สกิลยิงก้องทอง แรงมากๆ ถ้าโดนเข้าไป ดอกเดียวหลับได้เลยนะ
สกิล 2 ที่ใช้การยิงก้อนทองออกไป ถ้าศัตรูเลือดเหลือน้อย และไม่มีเกราะเวท ดอกเดียวหลังแน่นอนครับ

จังหวะในการใช้สกิลจับหยุด หรือ ตรึงศัตรูของ ลุง Gildur นั้น เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากๆ มันไม่ใช่ว่า จะสามารถกดใช้ได้แบบมั่วๆ นะครับ เพราะถ้าใช้ผิดจังหวะ ก็เท่ากับไปยืนนิ่งๆ ให้ศัตรูโจมตีจนตายแทนนะครับ ยิ่งไปกว่านั้น สกิล 3 ยังสามารถโดนศัตรูยกเลิก หรือ Cancel ได้อย่างง่ายๆ อีกด้วย เช่น Valhein สามารถยกเลิกสกิล 3 ของ Gildur ได้ ด้วยสกิล 2 ที่ทำให้ติดสตั้น

พูดง่ายๆ ก็คือ ก่อนจะไปจับตัวไหนหยุด ให้ดูดีๆ ก่อนว่า มีตัวที่จะทำให้เราติดสตั้น หรือตีจนเรายก ได้หรือไม่ เพราะถ้ามี มันอาจจะเข้ามาช่วยเพื่อน ด้วยการยกเลิกสกิล 3 ของเราได้ ดังนั้นแล้ว ส่วนใหญ่ เป้าหมายแรกของ Gildur จึงมักจะเป็น พวกที่สามารถใช้สกิลยกเลิกสกิล 3 ของมันได้ ก่อนเป็นอันดับแรกนั่นเอง เช่น ถ้า Valhein มันยกเลิกสกิลเราได้ เราก็จับมันไว้ก่อนเป็นตัวแรกซะก็จบเรื่อง ทีนี้ ก็ไม่มีใครมาช่วยมันได้ ด้วยการยกเลิกสกิลจับหยุดของ Gildur ได้อีกแล้ว

แต่ในการเล่นระดับสูงๆ หรือเจอกับผู้เล่น ที่เล่นเป็นงานแล้ว ส่วนใหญ่ Gildur จะไม่ค่อยใช้ สกิล 3 หรือ สกิลจับหยุด ในทีมไฟต์ แต่จะใช้ตอนไล่เก็บ หรือไล่ล่าฆ่าพวกที่จะกำลังหนีเป็นหลักครับ เพราะมีความเสี่ยงน้อยกว่า เวลาทีมไฟต์กัน แค่ใช้สกิล 1 กับ 2 ก็เหลือเฟือแล้วครับ โดยเฉพาะสกิล 1 จะรุนแรงและโดนเป็นกลุ่มอีกด้วย แถมยังสามารถยกเลิกสกิลศัตรูได้อีกด้วยนะครับ

การเล่น Gildur ที่ถูกต้องก็คือ หลีกเลี่ยงการเข้าทีมไฟต์ แบบชุลมุน หรือ ระยะประชิด แต่ให้ใช้การโจมตีจากระยะไกล ด้วยสกิล 2 เพื่อปั่นป่วน และสร้างความรำคาญให้กับศัตรู ยืนยันว่า มันน่ารำคาญมากจริงๆ ครับ ซึ่งตรงนี้ ผมเชื่อว่า ทุกคน คงจะเข้าใจความรู้สึกที่ว่ามานี้ดีแน่นอน เวลาโดน Gildur ยิงก้อนทองใส่มาเนี่ย ยิ่งช่วงท้ายเกม มันยิ่งแรงมากๆ แรงพอๆ กับ การต่อหมัดเดียวของ Raz เลยนะครับ

อีกหนึ่งสิ่ง ที่สำคัญมากก็คือ Gildur ไม่ใช่แท็งค์หลักของทีมนะครับ แต่ควรเล่นในตำแหน่ง แท็งค์ซัพพอร์ต ตรงนี้ หมายความว่าอย่างไร ก็เนื่องจาก Gildur มันไม่เหมาะจะเข้าไปคลุกวงใจเวลาทีมไฟต์ จึงไม่เหมาะที่จะเข้าไปเปิด หรือเข้าไปรับความเสียหายได้มากๆ เพราะไม่ได้ออกไอเท็มเกราะเลยสักชิ้นด้วย แต่มันเหมาะจะเข้าไปเสริมแท็งค์ตัวหลักของทีม คือ เข้าในจังหวะที่ 2 หลังจากที่แท็งค์ตัวหลัก เข้าไปลุยแล้ว แบบนี้ จะดีที่สุดครับ

นอกจากนี้ Gildur ยังเหมาะที่จะเอาไว้ปกป้อง เมจ และแครี่ ของทีมอีกด้วย เวลาที่มี Murad, Wukong, Zill หรือ Zuka จะเข้ามาหรอยแนวหลังของฝ่ายเรา ซึ่งถ้าหากถูกจับเอาไว้ด้วยสกิล 3 ของ Gildur แล้วล่ะก็ เจ้าแอสซาซินพวกนี้ ก็ไร้น้ำยาครับ ซึ่งถ้าคนที่เล่นเป็น เวลาเห็น Gildur จะมักไม่ค่อยอยากเข้าใกล้อยู่แล้วครับ คล้ายๆ กับที่คนเห็น Grakk นั่นแหละครับ

Gildur เวลาใช้สกิล จะได้รับโล่พิเศษ เอาไว้ปกป้องแนวหลังได้สบาย
สังเกตเวลาใช้สกิล 3 Gildur จะได้รับโล่พิเศษ และนี่คือการปกป้องแนวหลัง ป้องกันการโดนล้วง ลิง ล้วงเข้ามา ก็โดนสิครับ

ผู้เล่น Gildur ต้องมีสเต็ปที่ดีนิดนึงนะครับ และต้องเน้นการรวมแก๊งค์สักหน่อย มันถึงจะโหด ผมแนะนำว่า ให้ฝึกฝนให้ดี ก่อนที่จะเลือกเล่น Gildur นะครับ เพื่อความคล่องแคล่ว ในการกดใช้คอมโบ รวมทั้งจังหวะในการเข้าทำ และการกดใช้สกิล 3 เพื่อจับให้ศัตรูอยู่กับที่อีกด้วย

แนวทางการเล่น Gildur ROV ที่ผมแนะนำมานี้ ก่อนที่จะเอาไปเล่น ต้องดูเพื่อนร่วมทีมด้วยนะครับ ว่ามีฮีโร่ตัวไหนอยู่ในทีมบ้าง เช่น ถ้ามี Aleister อยู่แล้ว ก็ไม่ควรเลือก Gildur มาเล่น ควรจะเลือกแท็งค์ตัวอื่น ที่ส่งผลแบบ CC แทนจะดีกว่า เพื่อให้สามารถทำให้ศัตรู ได้รับผลจาก CC อย่างทั่วถึง เพราะการมีฮีโร่ ที่มีสกิลจับหยุดหรือตรึงอยู่กับที่ถึง 2 ตัวนั้น มันเกินความจำเป็นเกินไปครับ ควรเปลี่ยนเป็น Chaugnar หรือ Thane หรือ แท็งค์ตัวอื่นๆ ที่สตั้น หรือติดสโลว์ จะดีกว่าครับ นอกจากนี้ ถ้าเล่นในจัดอันดับ ตั้งแต่ระดับ ไดมอน ขึ้นไป ถ้าเห็นว่า ฝ่ายตรงข้าม มี Alice หรือ Chaugnar อยู่ในทีม ก็ไม่ควรเลือก Gildur มาเล่นนะครับ เพราะสกิลจับหยุด จะไม่ได้ผล ควรเลือกเล่นฮีโร่ตัวอื่นแทน จะดีกว่าครับ เพราะทั้ง Alice และ Chaugnar สามารถยกเลิกสกิลจับหยุด หรือสกิล 3 ของ Gildur ได้สบายๆ

เห็นมั้ยครับว่า ก่อนที่จะเล่นตัวไหนก็ตามให้มันเทพ ต้องวิเคราะห์ทีมฝ่ายตรงข้ามให้ได้เสียก่อน ไม่ใช่ว่า จะเลือกเล่นแต่ตัวที่เราถนัดเพียงอย่างเดียว แต่เราต้องวิเคราะห์ให้ออกด้วยว่า จะเอาตัวไหน มาแก้ทางฝ่ายตรงข้ามดี

เรื่องก่อนหน้านี้แนวทางการเล่นโรมมิ่ง Roaming ที่ถูกต้อง ว่าควรเล่นยังไง ถึงจะทำประโยชน์ให้ทีมได้มากที่สุด
เรื่องถัดไปValhein ROV สายไฮบริด ความแรงที่ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว เน้นความสมดุล